ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอังกฤษ รวมแหล่งท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอังกฤษ รวมแหล่งท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ
<!--เมนู
ข้อมูลท่องเที่ยวอังกฤษ
|
|
สหราชอาณาจักร(United Kingdom) |
|
อังกฤษ (หรือในอดีตมีเรียกว่า แคว้นอังกฤษ)เป็นดินแดนส่วนหนึ่งบนของหมู่เกาะบริเทนโดยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศสก็อตแลนด์ ทิศตะวันตก ติดกับประเทศเวลส์ ทิศใต้ ติดกับช่องแคบอังกฤษ ซึ่งกันระหว่าง ประเทศอังกฤษ กับประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออกติดทะเลเหนือ มีแม่น้ำสายสำคัญๆ เช่น แม่น้ำเทมส์ แม่น้ำไทน์ เป็นต้น เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอนเมืองท่า ที่สำคัญ คือ แมนเชสเตอร์ และ โดเวอร์ ท่าเรือเฟอร์รี่ที่สำคัญในอังกฤษ ที่เชื่อมต่อกับเมืองกาแลส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า "อิงแลนด์" (England) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาอังกฤษของอังกฤษในปัจจุบัน ได้มาจากชื่อ " อังเกิล" (Angles) ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งในบรรดา ชนเผ่าเยอรมันหลายเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ราว คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6 โดยมาจาก "EnglaLand" และกลายมาเป็น "England" ในปัจจุบันถึงแม้ว่าอังกฤษจะถูกนิยมเรียกว่า ประเทศ ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ แต่หลังจากที่มีการสถาปนาสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นประเทศในปี พ.ศ. 2250 แล้วนั้น แคว้นอังกฤษก็ไม่ถือว่าเป็นรัฐอิสระต่างหากอีกต่อไป ทว่าในประเทศไทยยังมีการใช้คำว่าอังกฤษแทนประเทศสหราชอาณาจักรอยู่โดยทั่วไป
|
|
|
ประวัติศาสตร์ประเทศอังกฤษ |
|
|
|
|
|
บันทึกเกี่ยวกับหมู่เกาะบริเทนมีขึ้นครั้งแรกโดยพ่อค้าชาวกรีกโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล พิธีแอสแห่งมาสซิเลีย (Pytheas of Massiia) นักสำรวจชาวกรีกมาเยือนเกาะอังกฤษใน 325 ปีก่อนค.ศ. พลีนีผู้พ่อ (Pliny the Elder) นักสำรวจชาวโรมันกล่าวว่าเกาะอังกฤษเป็นแหล่งดีบุกสำคัญ ทาซิตุส (Tacitus) ชาวโรมันเป็นคนแรกที่กล่าวถึงชาวบริตัน (Britons) ที่อาศัยบนหมู่เกาะบริเทน ว่าไม่มีความแตกต่างกับชาวโกล (Gaul) ในฝรั่งเศส (คือเป็นชาวเคลท์เหมือนกัน) ในด้านรูปร่างหน้าตาขนาดร่างกาย จูเลียส ซีซาร์พยายามจะพิชิตอังกฤษในปีที่ 55 และ 54 ก.ค.ศ. แต่ไม่สำเร็จ จนจักรพรรดิคลอดิอุส ส่งทัพมาพิชิตอังกฤษใน ค.ศ. 43 ชาวโรมันปกครองทั้งอังกฤษ เวลส์ เลยไปถึง สกอตแลนด์ ตั้งเมืองสำคัญต่างๆ เช่น ลอนดอน แต่ชาวโรมันทนการรุกรานของเผ่าเยอรมันต่างๆไม่ไหว ถอนกำลังออกไปใน ค.ศ. 410 ชาวแองโกล ชาวแซกซัน และชาวจูทส์ มาปักหลักตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ ต่อสู้กับชาวบริตันเดิม พลัดให้ถอยร่มไปทางตะวันตกและเหนือ
|
|
|
|
วัฒนธรรมและประชากรประเทศอังกฤษ |
|
|
|
|
จากการสำรวจสำมะโนครัวของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายนพ.ศ. 2544 สหราชอาณาจักรมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน[2] และเพิ่มเป็น 60.2 ล้านคนในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้น และอายุขัยที่ยาวนานขึ้นสหราชอาณาจักรมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลกประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีและส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงลอนดอนสหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศประเทศอังกฤษ |
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของสหราชอาณาจักร จัดอยู่ในประเทศค่อนข้างหนาวและมีความชื้นสูงเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะมีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลผ่านโดยทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้และจะมีฝนตกทาง ภาคตะวันตกมากกว่าตะวันออก อุณหภูมืเฉลี่ยต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวคือ 2-4 องศาเซลเซียส และสูงสุดในช่วงฤดูร้อนคือ 18-22องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดี กล่าวโดยรวมได้ว่าสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศค่อนข้างสูง โดยในบางวันอาจมีสภาพอากาศให้ได้พบเห็นเกือบทุกรูปแบบก็ว่าได้ฤดูใบไม้ผลิ (Spring)เดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อยมากบางวันอากาศอบอุ่น มีแสงแดดจัดในตอนเช้าและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเป็นหนาวเย็นหรือฝนตกในช่วงบ่าย
ฤดูร้อน(Summer)เดือนมิถุนายน-สิงหาคม อากาศส่วนใหญ่จะอบอุ่นและแสงแดดจัดจ้า
ฤดูใบไมร่วง (Autumn)เดือนกันยายน-พฤศจิกายนอากาศจะเย็นขึ้นเรื่อยๆ ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีสวยงามและร่วงหล่น
ฤดูหนาว(Winter)เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศช่วงนี้จะหนาวมากที่สุดมีหิมะตกในบางพื้นที่ กลางคืนจะยาวกว่ากลางวันและมืดเร็วกว่าปกติ
|
|
|
|
|
สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาราชการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ[10] ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆำได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก)เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิกภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก[11] ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินาในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกาลีสูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย
|
|
|
|
|
หน่วยเงินตราของสหราชอาณาจักรคือ ปอนด์สเตอร์ริ่ง โดย £1 = 100 p สหราชอาณาจักรไม่มีข้อกำหนดในการนำเงินเข้าประเทศ นักศึกษาสามารถนำเงินเข้าประเทศได้ตามต้องการ อย่างไรก็ดีไม่ควรพกเงินสดติดตัวจำนวนมาก นักศึกษาสามารถใช้ Traveller Cheque หรือซื้อ Bank Draft ติดตัวเมื่อเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรได้
ค่าครองชีพในสหราชอาณาจักร
ต่อไปนี้คือรายการค่าใช้จ่ายพอสังเขป สำหรับการครองชีพในสหราชอาณาจักร:
• ค่ารถประจำทางเที่ยวเดียว (ในท้องถิ่น) £ 2.00
• ค่าส่งจดหมายภายในประเทศแคนาดา ขึ้นกับประเภทการจัดส่งและน้ำหนัก
• ค่าส่งจดหมายระหว่างประเทศ (ในกลุ่มยุโรป) 50p/48p
• ค่าส่งจดหมายระหว่างประเทศ (นอกกลุ่มยุโรป) 56p/48p
สกุลเงินและมาตรการวัด
เหรียญที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ 1p,2p,5p,10p,20p,50p, £ 1 และ £ 2 ส่วนธนบัตรที่มีการใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ £ 5, £ 10, £ 20 และ £ 50 |
|
|
|
สิ่งควรทำ-ไม่ควรทำประเทศอังกฤษ |
|
|
|
|
1.คนไทยที่อยู่ในสหราชอาณาจักรสามารถติดต่อขอรับบริการต่ออายุหนังสือเดินทาง ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ขอหนังสือสำคัญประจำตัวใช้แทนหนังสือเดินทางที่สูญหายเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย งานทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ การแจ้งเกิด ขอใบมรณะบัตร จดทะเบียนสมรส จดะเบียนหย่า ขอลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร หรือการรับรองเอกสารที่เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ ได้โดยตรงที่ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ระหว่างเวลา 09.30-12.30น.ทุกวันทำงาน โทรศัพท์ 020 7225 5500 โทรสาร 020 7823 7492 2.การดำเนินการติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องหนังสือเดินทางการรับรองเอกสารการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ ขอให้ติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ที่ฝ่ายกงสุล โดยไม่จำเป็นต้องผ่านนายหน้า ขอให้นักท่องเที่ยวไทยระมัดระวังอย่าพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักรเกินกำหนดวีซ่าเพราะท่านอาจถูกลงโทษตามกฎหมาย อาทิ ส่งตัวกลับประเทศไทย และจะมีผลกระทบถึงการขอวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักรครั้งต่อไป
3.ระหว่างที่ทำงานอยู่ในสหราชอาณาจักร ท่านสามารถติดต่อขอต่ออายุวีซ่าได้ที่ Immigration and Nationality Directorate, Home Office Croydon ชานกรุงลอนดอน
4.หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อขอแบบฟอร์มต่ออายุ วีซ่า 0870-241-0645 หมายเลขโทรศัพทเพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป 0870-606-7766 หมายเลขโทรศัพท์ติดตามเรื่องการขอต่ออายุวีซ่าที่ได้ยื่นเรื่องแล้ว 0870-608-1592
5.โปรดดูแลทรัพย์สินของมีค่าและหนังสือเดินทางให้ดีที่สุด โดยเฉพาะบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร สวนสาธารณะ สถานีรถไฟใต้ดิน บนรถประจำทาง รถไฟ เนื่องจากท่านอาจถูกล้วงหรือฉกชิงกระเป๋าได้ อย่างไรก็ดี หากหนังสือเดินทางสูญหาย ให้แจ้งความพร้อมนำรูปถ่ายจำนวน 3 รูป เพื่อยื่นขอหนังสือสำคัญประจำตัวกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เพื่อเดินทางกลับประเทศต่อไป
6.ในการเดินทางเข้า-ออกสหราชอาณาจักร กรุณาอย่ารับฝากสิ่งของจากผู้อ่นโดยไม่ทราบว่าอะไร เพราะท่านอาจถูกหลอกให้ขนสิ่งผิดกฎหมาย
7.การเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร จะต้องมีหนังสือเดินทางของตนเอง และจะต้องมีวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักรได้ หากไม่มีทั้ง 2 รายการ แสดงว่า ท่านถูกหลอกให้มาค้าประเวณีที่สหราชอาณาจักร
8.ศึกษากฎระเบียบของประเทศอังกฤษ โดยขอข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 2530191-9 โทรสาร 254-9578
ในเวลาทำการ จันทร์-พฤหัส 07.45 - 12.00 น. และ 12.45-16.30 น. วันศุกร์ 07.45 - 13.15 น.
|
|
|
|
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ |
|
|
|
|
|
|
พระราชวังบัคกิ้งแฮม(Buckkingham Palace)
พระราชวังบั้คกิ้งแฮมเป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่2 และพระสวามี เดิมเป็นบ้านของขุนนาง Duke of Buckingham โดยสร้างเมื่อปีค.ศ. 1703 – 1705 ต่อมาได้ยึดเข้าเป็นของหลวงในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที3 เพื่อพระราชทานให้พระนางชาร์ลอตต์ในปี ค.ศ.1762 และปรับปรุงให้กลายเป็นพระราชวังในเวลาต่อมา พระนางเจ้าวิกตอเรียเป็นองค์แรกที่ประทับอยู่ที่นี่ พระราชวังบั้คกิ้งแฮม เพิ่งเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง นัยว่าจะนำเงินค่าเข้าชมไปช่วยในการซ่อมแซม พระราชวังวินด์เซอร์ที่ถูกเพลิงไหม้ โดยเปิดให้เข้าชมในเดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม ค่าเข้าชมคนละ 10 ปอนด์ ตั้งแต่ 9.30 – 16.30น. ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมากและต้องเข้าคิวนานประมาณ 1 ชั่วโมง ห้ามถ่ายรูปและวิดีโอ ห้องที่เปิดให้เข้าชมคือท้องพระโรง ห้องจัดพระราชทานเลี้ยง ห้องทรงดนตรี ห้องขาว ห้องเขียว และห้องสีน้ำเงิน เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
|
รูปปั้นหินประหลาด สโตนเฮนจ์ (Rock Stonehenge)
กองหินประหลาด ประกอบด้วยกองหินขนาดใหญ่จำนวนถึง 112 ก้อน และแต่ละก้อนทรงสูง บางก้อนล้มนอน บางก้อนตั้งตรง บางก้อนวางทับซ้อนอยู่บนยอด วงหินรอบนอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 ฟุต หินที่เรียงรายอยู่ทั้งหมดถึง 30 ก้อน ล้วนแต่ก้อนขนาดมหึมา สูงถึง 13 ฟุต และหนักเป็นตันๆ ทั้งนั้น อายุของหินเล่านี้มีมานาน ตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาลถึง 1,700 ปี ไม่มีประวัติแจ้งไว้ว่าใครเป็นผู้นำมาวาง และมาวางเพื่อประสงค์อะไร กองหินประหลาดแห่งนี้ อยู่กลางทุ่งนาอันกว้างขวาง แห่งเมืองซัสลิสเบอรี่ มณฑลวิลไซร์ ประเทศอังกฤษ ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 10 ไมล์ ตามทางสันนิฐานของนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ว่า กองหินประหลาดแห่งนี้ เป็นแหล่งกำเนิดของการโคจรของพระอาทิตย์ และพระจันทร์ได้ด้วย รัฐบาลอังกฤษ ได้เปิดสถานที่ที่มีกองหินประหลาดนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในปี ค.ศ. 1918 และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังมีผู้ไปเที่ยวชมจำนวนมาก และก็จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคกลาง
|
|
|
|
|
มหาวิหารเซนต์ปอล (The Basilica of Saint Paul)
มหาวิหารเซนต์ปอล คือจุดสนใจที่สำคัญที่สุดในเขตนี้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชม “ถ้าคุณจะมองหาอนุสาวรีย์ของเขา จงมองไปรอบตัวคุณ” นี่คือคำที่สลักไว้บนพื้นใต้โดมแห่งมหาวิหารเซนต์ปอลเพื่อรำลึกถึงเซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ผู้ที่สร้างลอนดอนขึ้นมาใหม่หลังจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ เขาเป็นผุ้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารแห่งนี้ด้วยตนเองจนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกับการก่อสร้างมหาวิหารขนาดใหญ่เช่นนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงชีวิตคนๆหนึ่งมหาวิหารเซนต์ปอลเดิม ถูกไฟไหม้เผาผลาญจนหมดสิ้นเมื่อไฟไหม้ครั้งใหญ่ เซอร์คริสโตเฟอร์ เรนจึงออกแบบสร้างใหม่ให้มีหลังคาทรงโดม สูงตระหง่านและก่อสร้างแล้วเสร็จในปีค.ศ. 1710 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 35 ปี โดมยอดเป็นโดมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ที่วาติกัน ภายในมีสิ่งที่น่าสนใจคือวิสเปอริ่งแกลเลิรี่ (Whispering Gallery)
|
|
|
เป็นทางเดินวงกลมช่วงฐานโดม ที่มีการสะท้อนของเสียงทำให้คนซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งได้ยินเสียงคนกระซิบอยู่ที่ฝั่งตรงข้าม นอกจากนั้นแล้วการตกแต่งประดับประดาภายในยังงดงามอลังการกว่าโบสถ์วิหารใดๆที่สร้างในสมัยเดียวกัน สิ่งที่ควรไปชมนอกจากวิสเปอริ่งแกลเลอรี่แล้ว ก็คือโมเดลมหาวิหารที่สร้างขึ้นตามการออกแบบครั้งแรกของเรน แบบนี้ไม่ผ่านการอนุมัติเพราะคณะกรรมการเห็นว่า “ทันสมัยเกินไป” และแผงกั้นที่นั่งนักร้องประสานเสียง เป็นเหล็กดัดสวยงามฝีมือ ฌอง ติชู (Jean Tijou) ชาวฝรั่งเศสผู้อพยพหนีภัยศาสนามา ชั้นล่างสุดของมหาวิหาร (Crypt) เป็นที่ไว้ศพและรูปปั้นรำลึกถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษผู้ซึ่งมีคุณานุคุณต่อประเทศชาติ อาทะ ลอร์ดเนลสัน เซอร์ ลอเรนซ์ แห่งอาระเบีย และดยุกแห่งเวลลิงตัน มหาวิหารเซนต์ปอลรอดพ้นจากภัยสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่อาคารโดยรอบพินาศหมดเพราะแรงระเบิด และทั่วโบกก็ได้ชมความอลังการของมหาวิหารแห่งนี้ผ่านการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ เมื่อใช้เป็นที่จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเลดี้ไดอาน่า สเปนเซอร์ ในปี ค.ศ.1981
|
|
|
|
|
วิหารเวสต์มินสเตอร์(Westminster Abbey)
มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ อังกฤษเพราะเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกกษัตริย์แห่งอังกฤษมากว่า 900 ปีแล้ว ตัววิหารเป็นอาคารเก่าแก่แบบโกธิคจากสมัยศตวรรษที่13ภายในมีที่ฝังพระศพกษัตริย์และราชวงศ์หลายพระองค์ อาทิ พระนางเจ้างอลิซาเบธที่ 1 พระนางแมรี่ “บลัดดี้แมรี่” และมีอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงบุคคลสำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ทั้งนักการเมืองไปจนถึงนักเขียน อาทิ ชาร์ลส์ ดิคเกนส์และเชคส์เปียร์ ในมุมกวีหรือ Poet’s Corner
|
|
|
|
|
ทราฟัลการ์สแควร์(Trafalgar Square)
เป็นจัตุรัสกว้างใหญ่มีอนุสาวรีย์ลอร์ดเนลสัน อยู่ตรงกลาง แผ่นป้ายจุดเริ่มต้นกิโลเมตรหรือไมล์ที่ 0 อยู่ใกล้พระรูปทรงม้าของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 อาคารโดยรอบเป็นสถานที่น่าสนใจ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเนชั่นแนลแกลเลอรี่และโบสถ์เซนต์มาร์ตินอินเดอะฟิลด์ ทราฟัลการ์สแควร์สร้างขึ้นบนพื้นที่ที่เคยเป็นคอกม้าหลวงของพระราชวังที่ไวท์ฮอลล์ในปีค.ศ. 1830 – 1840 เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ให้กับยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ของลอร์ดเนลสันในปีค.ศ. 1805 ตัวอนุสาวรีย์เป็นเสากลมเดี่ยวสูง 185 เมตร ข้างบนเป็นรูปปั้นของลอร์ดเนลสันในเครื่องแบบเต็มยศ ลอร์ดเนลสันผู้นี้มีชื่อเต็มว่า Horatio Nelson เป็นทหารเรือที่อังกฤษภาคภูมิใจในความกล้าหาญ เขาเสียตาและแขนในการรบ แต่ก็ยังออกทะเลในฐานะกัปตันเรือและเสียชีวิต ขณะบัญชาการรบจนได้รับชัยชนะ ในการรบหับฝรั่งเศสที่ทราฟัลการ์สแควร์ (ศพของเขาถูกแช่เหล้ารัม นำกลับมาฝังไว้ที่มหาวิหารเซนต์ปอล)
|
|
|
ทราฟัลการ์สแควร์เป็นที่ที่ควรไปถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึกที่นี่จะมีฝูงนกพิราบมาคอยกินอาหารที่คนหว่านให้ มีคนมาเล่นดนตรีขอแลกเศษเงิน มีเด็กๆมาวิ่งเล่น หรือในหน้าร้อนจะมีคนมาหาความขุ่มฉ่ำจากน้ำพุ และหากมีการประท้วงเรียกร้องต่างๆ ก็จะมาชุมนุมกันที่นี่ ในช่วงคริสต์มาส ทราฟัลการ์สแควร์จะมีการประดับประดาไฟสวยงามและมีต้นคริสต์มาสต้นใหญ่ตั้งอยู่ ต้านคริสต์มาสนี้เป็นของขวัญจากประเทศนอร์เวย์ซึ่งส่งมาให้ทุกปีเพื่อแสดงความขอบคุณที่ช่วยเหลือชาวนอร์เวย์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางด้านเหนือของจัตุรัสเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเนชั่นแนลแกลเลอรี่และเนชั่นแนลพอร์เทรตแกลเลอรี่
|
|
|
|
|
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster)
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (ClockTower,PalaceofWestminster) หรือรู้จักดีในชื่อบิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้าง หลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รีเป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตรโดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย(victorian gothic)ถ้าเอ่ยถึงชื่อว่าหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หลาย ๆ คน อาจจะรู้สึกไม่คุ้น
|
|
|
แต่ถ้าเอ่ยชื่อ บิกเบน (Big Ben) หลาย ๆ คน คงเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ ซึ่งที่แท้จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมง ตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมดบางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป
|
|
|
|
ทัวร์อังกฤษ เที่ยวอังกฤษ ประเทศอังกฤษ
อ้างอิง: วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,http://england.educatepark.com/travel/location.php |
|
|
|
|
-->
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น